หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
- วันพฤหัสบดี, ก.พ. 23 2560
- School of Science|2095f2
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ แบบ 1.1 และแบบ 1.2
หลักสูตร ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Biotechnology
ชื่อปริญญา ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ)
ชื่อย่อ : ปร.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Biotechnology)
ชื่อย่อ : Ph.D. (Biotechnology)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มุ่งสร้างความเชี่ยวชาญงานวิจัยเชิงเชิงลึกและบูรณาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ เน้นการใช้ความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพด้านจุลินทรีย์และพืชในเขตภูมิภาคเหนือตอนบนได้อย่างเหมาะสม และสร้างเครือข่ายงานวิจัยสู่ระดับสากล โดยมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ - มีความรู้ทางวิชาเทคโนโลยีและมีความสามารถในการวิจัยเชิงลึก โดยสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัยและนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
- ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทางด้านวิชาการกับหน่วยงานในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน หรือต่างประเทศโดยผ่านทางงานวิจัยเพื่อดุษฎีนิพนธ์
- เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศด้านการวิจัย
ค่าธรรมเนียม - สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (แบบที่ 1.1) จำนวน 6 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 192,000 .- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 32,000 .- บาท
- สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (แบบที่ 1.2) จำนวน 10 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 288,000 .- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 28,800 .- บาท
โครงสร้างหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (แบบ 1.1) โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (แบบ 1.2) โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา สาขาวิชานวัตกรรมวัสดุ แบบ 1.1 แบบ 1.2 และแบบ 2.2
ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวัสดุ ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Materials Innovation ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นวัตกรรมวัสดุ) ชื่อย่อ : ปร.ด. (นวัตกรรมวัสดุ) ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Materials Innovation) ชื่อย่อ : Ph.D. (Materials Innovation) ปรัชญา สร้างองค์ความรู้และทักษะกระบวนการศึกษาวิจัยทางวัสดุศาสตร์ เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตให้เป็นนักวิจัยที่มีทั้งพื้นฐานด้านวัสดุศาสตร์ที่เข้มแข็ง และปลูกฝังให้ผู้เรียนริเริ่มการประยุกต์สร้างสรรค์ผลงานวิจัยให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่มีประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้เป็นนักวิจัย ที่มีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจด้านวัสดุศาสตร์ที่เข้มแข็ง มีความคิดริเริ่ม และสามารถเสาะแสวงหาความรู้ เพื่อทำงานวิจัยอันก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่
- เพื่อให้บัณฑิตมีแนวคิดในการเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ และมีความเข้าใจในกระบวนการที่จะนำผลงานวิจัยมาประยุกต์สร้างเป็นนวัตกรรม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย พัฒนานวัตกรรมวัสดุ การผลิต การควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัสดุชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเซรามิก โลหะ พอลิเมอร์และยาง รวมทั้งวัสดุผสม เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์
- นักวิชาการและนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ
- ผู้ประกอบการอิสระ
- อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- สาขาวิชานวัตกรรมวัสดุ (แบบที่ 1.1) จำนวน 6 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 192,000 .- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 32,000 .- บาท
- สาขาวิชานวัตกรรมวัสดุ (แบบที่ 1.2) จำนวน 10 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 288,000 .- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 28,800 .- บาท
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวัสดุ (แบบ 1.1) โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวัสดุ (แบบ 1.2) โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวัสดุ (แบบ 2.2) โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา สาขาวิชาเคมีประยุกต์ แบบ 1.1 แบบ 1..2 แบบ 2.1 และ แบบ 2.2
ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Applied Chemistry ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เคมีประยุกต์) ชื่อย่อ : ปร.ด. (เคมีประยุกต์) ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Applied Chemistry) ชื่อย่อ : Ph.D. (Applied Chemistry) มุ่งพัฒนาบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ กอปรด้วยจริยธรรม คุณธรรม และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในเคมีสาขาต่างๆ รวมทั้งมีทักษะทางการวิจัยในเชิงลึกที่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นสากลและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิต ที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
- มีความรู้ทางวิชาเคมีและมีความสามารถในการวิจัยเชิงลึก โดยสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัยและนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
- ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทางด้านวิชาการกับหน่วยงานในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน หรือต่างประเทศโดยผ่านทางงานวิจัย
- เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศด้านการวิจัย
- สาขาวิชาเคมีประยุกต์ (แบบที่ 1.1) จำนวน 6 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 192,000 .- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 32,000 .- บาท
- สาขาวิชาเคมีประยุกต์ (แบบที่ 1.2) จำนวน 10 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 288,000 .- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 28,800 .- บาท
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ (แบบ 1.1) โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ (แบบ 1.2) โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ (แบบ 2.1) โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ (แบบ 2.2) โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แบบ 1.1 และ แบบ 1.2
ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Biological Sciences ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) ชื่อย่อ : ปร.ด. (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Biological Sciences) ชื่อย่อ : Ph.D. (Biological Sciences) วิชาการเป็นเลิศ เด่นงานวิจัย สังเคราะห์และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่เพื่อประยุกต์ในงานวิจัยต่อยอด และ / หรือ การสรรสร้างนวัตกรรมที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิต ที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
- พัฒนาบุคลากรในระดับปริญญาเอกที่มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพอย่างลึกซึ้ง และมีความเข้าใจในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทางด้านวิชาการกับหน่วยงานในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน หรือต่างประเทศโดยผ่านทางงานวิจัย
- พัฒนาบุคลากรให้เป็นนักวิจัยมืออาชีพ
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (แบบที่ 1.1) จำนวน 6 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 192,000 .- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 32,000 .- บาท
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (แบบที่ 1.2) จำนวน 10 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 288,000 .- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 28,800 .- บาท
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (แบบ 1.1 ) โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (แบบ 1.2 ) โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ แบบ 1.1 แบบ 1..2 แบบ 2.1 และ แบบ 2.2
ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเชิงคำนวณ ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Computational Science ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาการเชิงคำนวณ) ชื่อย่อ : ปร.ด. (วิทยาการเชิงคำนวณ) ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Computational Science) ชื่อย่อ : Ph.D. (Computational Science) ปรัชญา หลักสูตรนี้มุ่งเน้นที่จะผลิตบุคลากรที่มีความรู้และทักษะการวิจัยขั้นสูงที่สามารถสร้างนวัตกรรมในสาขาวิชาวิทยาการเชิงคำนวณ อันเป็นสหวิทยาการระหว่างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์และวิทยาการข้อมูล รวมถึงสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบจำลองหรือการคำนวณร่วมกับข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และความเข้าใจใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่การค้นหาแนวทางการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การสร้างนวัตกรรม และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลสูงสุด
วัตถุประสงค์
- เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้และทักษะวิจัยในสาขาวิชาวิทยาการเชิงคำนวณ ที่สามารถค้นหาแนวทางการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การสร้างนวัตกรรม และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลสูงสุด
- เพื่อพัฒนางานวิจัยในลักษณะสหวิทยาการระหว่างความรู้ของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์และวิทยาการข้อมูล รวมถึงสาขาอื่นๆ ให้เกิดขึ้นและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
- นักวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความรู้ด้านวิทยาการข้อมูล แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการคำนวณ
- พนักงานวิทยาศาสตร์หรือนักวิทยาศาสตร์ ของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานเอกชน ที่ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการข้อมูล แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการคำนวณ
- นักวิจัย ในสถาบันวิจัยต่างๆ อาทิ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
- ครู/อาจารย์ ในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
- นวัตกรรมที่ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาการข้อมูล แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการคำนวณ
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ (แบบที่ 1.1) จำนวน 6 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 192,000 .- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 32,000 .- บาท
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ (แบบที่ 1.2) จำนวน 10 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 288,000 .- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 28,800 .- บาท
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ (แบบที่ 2.1) จำนวน 6 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 192,000 .- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 32,000 .- บาท
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ (แบบที่ 2.2) จำนวน 10 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 288,000 .- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 28,800 .- บาท
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเชิงคำนวณ (แบบ 1.1) โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเชิงคำนวณ (แบบ 1.2) โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเชิงคำนวณ (แบบ 2.1) โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเชิงคำนวณ (แบบ 2.2) โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แบบ 1.1 และแบบ 2.1
ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Natural Resources and Environmental Management ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ชื่อย่อ : ปร.ด. (การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Natural Resources and Environmental Management) ชื่อย่อ : Ph.D. (Natural Resources and Environmental Management) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้พัฒนาขึ้นเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้หลาหลายสาขาร่วมกัน หรือสหสาขาวิชาและเรียนรู้วิธีการดำเนินงานวิจัย โดยใช้ภาษาต่างประเทศในการเรียนการสอน เพื่อมุ่งสนับสนุนการวางรากฐานงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพและและเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง ในการแก้ไขปัญหาทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural Resources and Environmental Management: NREM) ในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมทั้งประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีสิ่งแวดล้อมคล้ายคลึงกันให้ไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอนุภูมิภาคร่วมกัน มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิต ที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
- มีความสามารถในการออกแบบกระบวนการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมแบบสมเหตุสมผลและเป็นไปอย่างเที่ยงธรรม โดยเฉพาะในระดับภูมิภาค
- มีสามารถประมวลความรู้ในทางทฤษฏี แนวคิด พัฒนาไปสู่การปฏิบัติจริงและสอดคล้องกับการกำหนดนโยบายและประเด็นที่ศึกษา
- มีหลักจริยธรรมและยืดมั่นตามหลักการพัฒนาอย่างยืน ทั้งต่อประเทศของตนเองและประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
- สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (แบบที่ 1.1) จำนวน 6 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 550,000 .- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 92,000 .- บาท : 5 ภาค และ 90,000 .- บาท : 1 ภาค
- สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (แบบที่ 2.1) จำนวน 6 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 550,000 .- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 92,000 .- บาท : 5 ภาค และ 90,000 .- บาท : 1 ภาค
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (แบบ 1.1) โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (แบบ 2.1) โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา