All for Joomla All for Webmasters

  เว็บไซต์ MFU 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการในสาขาวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ โดยมีหลักสูตรการศึกษาและงานวิจัยที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

 

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ แผน ก1 ก2 และ แผน ข

     

    หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ แผน ก1 ก2 และ แผน ข

    (สำหรับผู้สำเร็จสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่น ๆ ที่มิใช่แพทย์) 

    ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
    ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Anti-Aging and Regenerative Science
    ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ)
    ชื่อย่อ : วท.ม. (วิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ)
    ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Science (Anti-Aging and Regenerative Science)
    ชื่อย่อ : M.Sc. (Anti-Aging and Regenerative Science)

    ปรัชญา      หลักสูตรมุ่งเน้นพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานวิจัย ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ความรู้ด้านการให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพ และความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้มีศักยภาพในการทำงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Clinical Anti-Aging and Regenerative Science Research) ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การแพทย์(Medical Science) หรือวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Anti-Aging and Regenerative Medical Science Research) ส่งผลและก่อให้เกิดการพัฒนาวิทยาการทางด้านวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพที่ยั่งยืนของประเทศต่อไป

    วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้

    1. มีความรู้ความสามารถและมีศักยภาพในการทำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชะลอวัย และพร้อมจะทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องทางด้านวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ หรือเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่มีประโยชน์อย่างมากต่อวงการวิทยาศาสตร์และวงการแพทย์เวชศาสตร์และวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพของประเทศ
    2. เป็นนักวิจัยที่มีจรรยาบรรณที่จะส่งผลต่อการดำเนินการวิจัย และนำเสนอผลการวิจัยที่เอื้อผลประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมอย่างแท้จริง
    3. ส่งเสริมและพัฒนาการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมและประเทศ
    4. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และสามารถประยุกต์องค์ความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ
    5. มีความรับผิดชอบและสามารถในการทำงานต่างวัฒนธรรมภายใต้สถานการณ์ต่างๆ 
    1. นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
    2. อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
    3. ประกอบวิชาชีพอิสระ
    4. ผู้ให้คำแนะนำและที่ปรึกษาด้านสุขภาพ
    สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ แผน ข
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 240,000.- บาท
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 60,000.- บาท
    วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ แผน ก 1  โครงสร้างหลักสูตร      แผนการศึกษา
     วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ แผน ก 2  โครงสร้างหลักสูตร      แผนการศึกษา
     วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ แผน ข  โครงสร้างหลักสูตร      แผนการศึกษา

     

  • สาขาวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ แผน ก1 และ ก2

     

    หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ แผน ก1 และ ก2 (สำหรับผู้สำเร็จแพทยศาสตร์)

    ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
    ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Anti-Aging and Regenerative Medicine
    ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ)
    ชื่อย่อ : วท.ม. (เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ)
    ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Science (Anti-Aging and Regenerative Medicine)
    ชื่อย่อ : M.Sc. (Anti-Aging and Regenerative Medicine)

    ปรัชญา      หลักสูตรมุ่งเน้นพัฒนาแพทย์ให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานวิจัย ความรู้ทางคลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ และความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้มีศักยภาพในการทำงานวิจัยทางด้านคลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Clinical Anti-Aging and Regenerative Medicine Research) ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical Science) หรือวิจัยเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Anti-Aging and Regenerative Medical Science Research) ส่งผลและก่อให้เกิดการพัฒนาวิทยาการทางด้านการแพทย์ที่ยั่งยืนของประเทศต่อไป

    วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้

    1. มีความรู้ความสามารถและมีศักยภาพในการทำงานวิจัยทางการแพทย์ และพร้อมจะทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องทางด้านคลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ หรือเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์อย่างมากต่อวงการวิทยาศาสตร์และวงการแพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพของประเทศ
    2. เป็นนักวิจัยที่มีจรรยาบรรณที่จะส่งผลต่อการดำเนินการวิจัย และนำเสนอผลการวิจัยที่เอื้อผลประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมอย่างแท้จริง
    3. ส่งเสริมและพัฒนาการวิจัยทางเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมและประเทศ
    4. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และสามารถประยุกต์องค์ความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ 5. มีความรับผิดชอบและสามารถในการทำงานต่างวัฒนธรรมภายใต้สถานการณ์ต่างๆ 
    1. แพทย์และนักวิจัยทางเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
    2. อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
    3. ประกอบวิชาชีพอิสระ
    สาขาวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ แผน ก 2
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 360,000.- บาท
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 90,000.- บาท
    วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ แผน ก 1  โครงสร้างหลักสูตร      แผนการศึกษา
     วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ แผน ก 2  โครงสร้างหลักสูตร      แผนการศึกษา

      

  • สาขาวิชาตจวิทยา ( สำหรับผู้สำเร็จแพทย์ศาสตร์ ) แผน ก 1 และ แผน ก 2

     

    หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา (สำหรับผู้สำเร็จแพทยศาสตร์) แผน ก1 และแผน ก2

    ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา
    ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Dermatology
    ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ตจวิทยา)
    ชื่อย่อ : วท.ม. (ตจวิทยา)
    ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Science (Dermatology)
    ชื่อย่อ : M.Sc. (Dermatology)

    ปรัชญา      หลักสูตรมุ่งเน้นพัฒนาแพทย์ให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานวิจัย ความรู้ทางตจวิทยาทางคลินิก และความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้มีศักยภาพในการทำงานวิจัยทางด้านตจวิทยาคลินิก (Clinical Dermatologic Research) ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical Science) หรือวิจัยตจวิทยาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Dermatologic Medical Science Research) ส่งผลและก่อให้เกิดการพัฒนาวิทยาการทางด้านการแพทย์ที่ยั่งยืนของประเทศต่อไป

    วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้

    1. มีความรู้ความสามารถและมีศักยภาพในการทำงานวิจัยทางการแพทย์ และพร้อมจะทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องทางด้านตจวิทยาคลินิก หรือตจวิทยาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์อย่างมากต่อวงการวิทยาศาสตร์และวงการแพทย์ผิวหนังของประเทศ
    2. เป็นนักวิจัยที่มีจรรยาบรรณที่จะส่งผลต่อการดำเนินการวิจัย และนำเสนอผลการวิจัยที่เอื้อผลประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมอย่างแท้จริง
    3. ส่งเสริมและพัฒนาการวิจัยทางโรคผิวหนังที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมและประเทศ
    4. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และสามารถประยุกต์องค์ความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ
    5. มีความรับผิดชอบและสามารถในการทำงานต่างวัฒนธรรมภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ
    6. เป็นผู้ที่มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แบ่งเป็น ด้านทักษะด้านการอ่าน ทักษะด้านการเขียน ทักษะด้านการคิดคำนวณ ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา การมีความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมใหม่ ทักษะที่เน้นความเข้าใจในหลากหลายชาติพันธุ์ การทำงานเป็นทีม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเป็นผู้นำ ความสามารถในการสื่อสาร การรู้จัก เข้าใจในการใช้ข้อมูลและสื่อ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะการใช้ชีวิต 
    1. แพทย์และนักวิจัยทางตจวิทยา
    2. อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
    3. ประกอบวิชาชีพอิสระ
    สาขาวิชาวิชาตจวิทยา แผน ก 1 และ ก 2 จำนวน 4 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 360,000.- บาท
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 90,000.- บาท
    วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา แผน ก 1  โครงสร้างหลักสูตร      แผนการศึกษา
     วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา แผน ก 2  โครงสร้างหลักสูตร      แผนการศึกษา

     

Read 3084 times Last modified on วันพุธ, 02 พฤษภาคม 2561 11:56
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฏิบัติการใช้คุ๊กกี้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้ที่ https://pdpa.mfu.ac.th/papa-6240/pdpa-6251.html

 
 
 
สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
333 หมู่ 1 ตำบลท่าสุด อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57100
โทร.053-916137-40 โทรสาร 053-916141
อีเมล์:
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Top