เกณฑ์การเผยแพร่ผลงาน
เกณฑ์การเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา
6.1 ได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการตอบรับการตีพิมพ์จากบรรณาธิการหรือผู้จัดทำวารสารทางวิชาการ ให้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ ซึ่งมีเกณฑ์คุณภาพ โดยถือ ณ วันที่ผลงานนักศึกษาได้รับการตีพิมพ์เป็นหลัก
6.1.1 วารสารระดับนานาชาติที่ปรากฎอยู่ในฐานข้อมูลหรือเป็นวารสารที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ยอมรับ หรือเป็นวารสารรับนานาชาติสำหรับการตีพิมพ์ผลงานวิจัยของนักศึกษาทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.)
- ฐานข้อมูลและวารสารวิชาการกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ สกว. ยอมรับระดับนานาชาติ
- ฐานข้อมูลและวารสารวิชาการกลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ สกว. ยอมรับระดับนานาชาติ
- ฐานข้อมูลและวารสารวิชาการกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่ คปก. ยอมรับระดับนานาชาติ
6.1.2 วารสารระดับนานาชาติตามประกาศล่าสุดของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)
(วิธีการตรวจสอบข้อมูลวารสารในฐาน Scopus และการหาค่า Quartile ใน SCImago Journal & Country Rank: SJR)
- Web of Science (เฉพาะในฐานข้อมูล SCIE, SSCI และ AHCI เท่านั้น)
6.2 ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงาน ได้รับการจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร หรือมีผลงานอื่นๆ ที่เทียบเท่า เช่น งานนวัตกรรม งานออกแบบสร้างสรรค์หรือต้นแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ หรือสาธารณประโยชน์ได้
6.3 ได้รับการตีพิมพ์หรือตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงไทย (TCI) ในกลุ่มที่ 1 หรือ กลุ่มที่ 2 และอยู่ในฐานข้อมูล TCI หรือวารสารระดับชาติตามประกาศล่าสุดของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) โดยถือ ณ วันที่ผลงานนักศึกษาได้รับการตีพิมพ์เป็นหลัก
- ตรวจสอบรายชื่อวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
(วิธีการตรวจสอบข้อมูลวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย-Thai-Journal Citation Index Centre: TCI)
6.4 นำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์ ต้องได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ระดับชาติหรือนานาชาติที่มีกองบรรณาธิการจัดทำรายงาน หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วยศาสตราจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ นอกสถาบันเจ้าภาพ หรือจากต่างประเทศ อย่างน้อยร้อยละ 25 โดยที่นักศึกษาต้องเป็นผู้นำเสนอผลงานด้วยตนเองในวันและเวลาที่ผู้จัดประชุมกำหนด การนำเสนอจะเป็นการเสนอแบบปากเปล่าหรือแบบโปสเตอร์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
6.5 ได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยผ่านการพิจารณาการประเมินบทความจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิก่อนการเผยแพร่ (เฉพาะนักศึกษาแผน ข)
- ขั้นตอนการตรวจสอบการเผยแพร่ผลงาน แผน ข
- รูปแบบบทความวิจัย (ตัวอย่าง)
- ดาวน์โหลดแบบประเมินคุณภาพบทความวิจัย
(วิธีการตรวจสอบข้อมูลวารสารในฐาน Scopus และการหาค่า Quartile ใน SCImago Jouranl & Country Rank: SJR)
- Web of Science (เฉพาะในฐานข้อมูล SCIE, SSCI และ AHCI เท่านั้น)
6.2 ได้รับการตีพิมพ์หรือได้รับการตอบรับการตีพิมพ์จากบรรณาธิการหรือผู้จัดทำวารสารทางวิชาการ ให้ตีพิมพ์ในวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในกลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่ 2 โดยถือ ณ วันที่ผลงานของนักศึกษาได้รับการตอบรับการตีพิมพ์เป็นหลัก
- ตรวจสอบรายชื่อวารสารทศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
(วิธีการตรวจสอบข้อมูลวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย-Thai-Journal Citation Index Centre: TCI)
6.3 นำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ โดยบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ต้องได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings)
1) การประชุมวิชาการระดับชาติ ต้องมีกองบรรณาธิการจัดทำรายงาน หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วยศาสตราจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากนอกสถาบันเจ้าภาพ อย่างน้อยร้อยละ 25 และการนำเสนอบทความวิจัยต้องมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น และมีบทความที่มาจากหน่วยงานภายนอกสถาบันอย่างน้อย 3 หน่วยงาน และรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
2) การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ต้องมีกองบรรณาธิการจัดทำรายงาน หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วยศาสตราจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากต่างประเทศ อย่างน้อยร้อยละ 25
ทั้งนี้ นักศึกษาจะต้องเป็นผู้นำเสนอผลงานวิจัยด้วยตนเองในวันและเวลาที่ผู้จัดประชุมกำหนด การนำเสนอจะเป็นการนำเสนอแบบปากเปล่าหรือแบบโปสเตอร์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
6.4 ได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้ โดยผ่านการพิจารณาการประเมินบทความก่อนการเผยแพร่จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 3 คน
- ขั้นตอนการตรวจสอบการเผยแพร่ผลงาน แผน ข
- รูปแบบบทความวิจัย (ตัวอย่าง)
- ดาวน์โหลดแบบประเมินคุณภาพบทความวิจัย
>> แนวปฏิบัติการเผยแพร่ผลงาน <<
>> ขั้นตอนการบันทึกการเผยแพร่ผลงานวิจัยในระบบ Grad MIS <<
>> ขั้นตอนการยื่นคำร้องการเผยแพร่ผลงานวิจัย <<