ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เข้ามามีความสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตและมีความต้องการในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นจากเดิม ทำให้หลายหน่วยงานได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบเดิมไปสู่เทคโนโลยีดิจิทัลแบบใหม่ ทั้งนี้ก็เพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูกค้า ทำให้หน่วยงานต้องเตรียมความพร้อมเพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการมาพัฒนาการให้บริการของหน่วยงาน โดยเทคโนโลยีสารสนเทศแบบใหม่จะต้องอาศัยบุคลากรที่มีความพร้อมด้านความรู้ ความเข้าใจและทักษะความชำนาญ จึงจะสามารถพัฒนาการให้บริการที่มีอยู่เดิมให้ดียิ่งขึ้นและตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น
สำนักงานบัณฑิตศึกษาเป็นหน่วยงานสนับสนุนและให้บริการในด้านต่าง ๆ ที่มีลูกค้าที่รับบริการเป็นกลุ่มผู้เรียนและอาจารย์เป็นหลัก โดยสำนักงานบัณฑิตศึกษาได้คำนึงถึงความสะดวกในการรับข้อมูล ความรวดเร็วในการให้ข้อมูลและการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องของลูกค้า และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และเสริมสร้างทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ แก่บุคลากรในหน่วยงาน สำนักงานบัณฑิตศึกษาจึงได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ระบบฐานข้อมูลการให้บริการข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศอัตโนมัติ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในส่วนของเทคโนโลยีดิจิทัล และสามารถนำมาพัฒนาการให้บริการต่อไป
โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 2 มีนาคม 2565 ณ ห้อง 307/1 อาคารเรียนรวม 1 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันติชัย วิชา และอาจารย์ ดร.ชยพล คำยอด อาจารย์ประจำ สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมแชร์ประสบการณ์
ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้มีการอบรมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทั้งหาแนวทางในการให้บริการทางสารสนเทศที่เหมาะสม และร่วมแชร์ประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมอบรมอีกด้วย
ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ภัยพิบัติทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ ได้สร้างความสูญเสียให้เกิดขึ้นทั่วโลก และในประเทศไทยเองก็ประสบปัญหาอุบัติภัยและสาธารณภัย ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น อุทกภัย วาตภัย หรืออัคคีภัย ที่ค่อนข้างรุนแรงและมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หน่วยงานต่าง ๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อป้องกันอันตรายและลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และเสริมสร้างทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ แก่บุคลากรในหน่วยงาน สำนักงานบัณฑิตศึกษาจึงได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง มาตรการการป้องกันอัคคีภัย เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและเพื่อให้สามารถรับมือในกรณีเกิดอัคคีภัยภายในหน่วยงานได้อย่างทันท่วงที สร้างความมั่นใจให้กับบุคลากรที่ต้องเผชิญเหตุในระยะแรกให้สามารถใช้อุปกรณ์ในการดับเพลิงได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย รวมทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้บุคลากรของหน่วยงาน เกิดความระมัดระวังในการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในหน่วยงาน ตลอดจนสามารถวางแผนและกำหนดมาตรการป้องกันอัคคีภัยในหน่วยงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
ซึ่งโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 3 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงานบัณฑิตศึกษา อาคารเรียนรวม 1 โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์อัญชลี คัตรมี อาจารย์ประจำสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมแชร์ประสบการณ์เพื่อให้ข้อเสนอแนะที่ดีในกรณีที่เกิดภัยพิบัติในแต่ละรูปแบบ
ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้มีการอบรมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิธีการป้องกันที่ถูกต้องในกรณีเกิดภัยพิบัติ พร้อมทั้งหาแนวทางการป้องกันภัยพิบัติ ทางด้านอัคคีภัย ร่วมแชร์ประสบการณ์ และร่วมกันฝึกซ้อมอพยพกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินอีกด้วย
Thesis/Dissertation Support Grant
Second Semester 2021
(Approved Round 3)
School of Science
No. |
Student ID |
Academic Programs |
Name |
1 |
6271105009 |
Ph. D. Degree (1.2) |
Mr. Bhavesh Raghoonundon |
2 |
6351701003 |
Master Degree (A2) |
Mr. Hla Myo |
Issued this 18th of March, 2022
List of Academic English for Graduate Studies 1 & 2 (AE1 & AE2) Round 2/2021
ไม่ได้ติดตั้งโปรแกรม Adobe Reader หรือบราวเซอร์ไม่รองรับการแสดงผล PDF คลิกที่นี้เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ PDF