Print this page

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

  • สาขาวิชาเคมีประยุกต์ แผน ก 1 และ แผน ก 2

     

    ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์
    ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Applied Chemistry
    ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เคมีประยุกต์)
    ชื่อย่อ : วท.ม. (เคมีประยุกต์)
    ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Science (Applied Chemistry)
    ชื่อย่อ : M.Sc. (Applied Chemistry)

    ปรัชญา      หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตที่มีองค์ความรู้และทักษะการวิจัยขั้นสูงเพื่อเป็นผู้นำในการต่อยอดนวัตกรรมทางด้านเคมีและการประยุกต์เชิงผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ และเคมีวิเคราะห์ สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้สร้างประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม

    วัตถุประสงค์

    1. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้และทักษะขั้นสูงทางด้านเคมีและการประยุกต์
    2. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีทักษะการทำงานวิจัยทางด้านเคมีที่มีคุณภาพ สามารถต่อยอดงานวิจัยหรือนวัตกรรมที่สามารถเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์ได้
    3. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีทักษะในการเป็นผู้ประกอบการอิสระได้
    4. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีทักษะการความเป็นผู้นำทางด้านเคมีและการประยุกต์ที่กอปรด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
    5. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน 
    1. ครู อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการด้านเคมีในสถาบัน การศึกษาหรือสถาบันวิจัย
    2. นักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานเอกชน
    3. ผู้ชำนาญการด้านวิเคราะห์ทดสอบทางเคมี
    4. ผู้ประกอบการ นักนวัตกรรม หรือพนักงานในธุรกิจด้านวิทยาศาสตร์

         นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาเคมีหรือที่เกี่ยวข้องได้ และสามารถประกอบอาชีพอิสระด้านการวิเคราะห์ทดสอบ และค้นคว้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางเคมีของหน่วยงานอีกด้วย

    สาขาวิชาเคมีประยุกต์ แผน ก1 และ ก2 จำนวน 4 ภาคการศึกษาในหลักสูตร

    • ค่าาธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 140,000.- บาท
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000.- บาท
    วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ แผน ก 1  โครงสร้างหลักสูตร      แผนการศึกษา
    วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ แผน ก 2  โครงสร้างหลักสูตร      แผนการศึกษา

     

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพแผน ก 1

     

    ชื่อปริญญา
    ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ)
      ชื่อย่อ : วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
    ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Science (Biotechnology)
      ชื่อย่อ : M.Sc. (Biotechnology)
    ปรัชญา / วัตถุประสงค์
         หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มุ่งสร้างสรรค์งานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพแบบบูรณาการเพื่องานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เน้นด้านจุลินทรีย์และพืชที่สอดคล้องกับความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพในเขตภูมิภาคเหนือตอนบนได้อย่างเหมาะ สม โดยมุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้
    1. ความรู้ และความชำนาญในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
    2. เป็นนักวิจัยมืออาชีพด้านเทคโนโนโลยีชีวภาพ
    3. มีความสามารถเป็นผู้ประกอบการอิสระมืออาชีพด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
    ค่าธรรมเนียม
    จำนวน 4 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 140,000.- บาท
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000.- บาท
    โครงสร้างหลักสูตร
     วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ แผน ก 1  โครงสร้างหลักสูตร      แผนการศึกษา

     

  • สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แผน ก1 และ ก2

     

    ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
    ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Biological Science
    ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ)
    ชื่อย่อ : วท.ม. (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ)
    ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Science (Biological Science)
    ชื่อย่อ : M.Sc. (Biological Science)

    ปรัชญา      หลักสูตรมุ่งมั่นในการผลิตมหาบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญในวิทยาศาสตร์ชีวภาพทั้งในด้านวิชาการและการวิจัยเพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ในงานวิจัยต่อยอด และ/หรือสร้างนวัตกรรมที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

    วัตถุประสงค์

    1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
    2. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่สมารถนำความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพไปใช้สร้างนวัตกรรม เพื่อส่งเสริม พัฒนา สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
    3. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณนักวิจัย/นักวิชาการ 
    1. นักวิจัย พนักงานวิทยาศาสตร์ หรือผู้ช่วยวิจัย ทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน เช่น มหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจทางด้านการเกษตร อาหารและยา
    2. อาจารย์ในสถาบันการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้อง
    3. พนักงานแนะนำและจำหน่ายสารเคมีและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ 4. ผู้ประกอบการอิสระ

    จำนวน 4 ภาคการศึกษาในหลักสูตร

    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 140,000.- บาท
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000.- บาท
    วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แผน ก 1  โครงสร้างหลักสูตร      แผนการศึกษา
    วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แผน ก 2  โครงสร้างหลักสูตร      แผนการศึกษา
  • สาขาวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ แผน ก1 และ ก2

     

    ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเชิงคำนวณ
    ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Computational Science
    ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการเชิงคำนวณ)
    ชื่อย่อ : วท.ม. (วิทยาการเชิงคำนวณ)
    ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Science (Computational Science)
    ชื่อย่อ : M.Sc. (Bioscience)

    ปรัชญา      หลักสูตรนี้มุ่งเน้นที่จะผลิตบุคลากรที่มีความรู้และทักษะการวิจัยในสาขาวิทยาการเชิงคำนวณ อันเป็นสหวิทยาการระหว่างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์และคอมพิวเตอร์ รวมถึงสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบ จำลองหรือการคำนวณร่วมกับคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ นำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาและพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น

    วัตถุประสงค์

    1. เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้และทักษะวิจัยในสาขาวิทยาการเชิงคำนวณเพื่อการตัดสินใจและพยากรณ์สิ่งที่เกิดขึ้นได้
    2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัยในลักษณะสหวิทยาการระหว่างความรู้ของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์และคอมพิวเตอร์ รวมถึงสาขาอื่นๆ ให้เกิดขึ้นและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 
    1. ครูวิทยาศาสตร์ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
    2. พนักงานวิทยาศาสตร์หรือนักวิทยาศาสตร์ ของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานเอกชน
    3. นักวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความรู้ด้านวิทยาการข้อมูล แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการจำลองเชิงตัวเลข
    4. นักวิจัย ในสถาบันวิจัยต่างๆ อาทิ
      1. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
      2. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
      3. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
      4. ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
      5. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
      6. สำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาวิทยาการเชิงคำนวณหรือสาขาที่เกี่ยวข้องได้

    จำนวน 4 ภาคการศึกษาในหลักสูตร

    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 140,000.- บาท
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000-. บาท
    วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเชิงคำนวณ แผน ก 1  โครงสร้างหลักสูตร      แผนการศึกษา
    วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเชิงคำนวณ แผน ก 2  โครงสร้างหลักสูตร      แผนการศึกษา

     

  • สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ แผน ก1 และ แผน ก2

     

    ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวัสดุ
    ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Materials Innovation
    ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (นวัตกรรมวัสดุ)
    ชื่อย่อ : วท.ม. (นวัตกรรมวัสดุ)
    ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Science (Materials Innovation)
    ชื่อย่อ : M.Sc. (Materials Innovation)

    ปรัชญา      สร้างองค์ความรู้และทักษะกระบวนการศึกษาวิจัยทางวัสดุศาสตร์ เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตให้เป็นนักวิจัยที่มีทั้งพื้นฐานด้านวัสดุศาสตร์ที่เข้มแข็ง และปลูกฝังให้ผู้เรียนริเริ่มการประยุกต์สร้างสรรค์ผลงานวิจัยให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่มีประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม

    วัตถุประสงค์

    1. เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้เป็นนักวิจัย ที่มีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจด้านวัสดุศาสตร์ที่เข้มแข็ง มีความคิดริเริ่ม และสามารถเสาะแสวงหาความรู้ เพื่อทำงานวิจัยอันก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่
    2. เพื่อให้บัณฑิตมีแนวคิดในการเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ และมีความเข้าใจในกระบวนการที่จะนำผลงานวิจัยมาประยุกต์สร้างเป็นนวัตกรรม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม 
    1. นักวิจัยและพัฒนาวัสดุนวัตกรรม ออกแบบการผลิต และควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัสดุชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเซรามิก โลหะ พอลิเมอร์และยาง รวมทั้งวัสดุผสม เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์
    2. นักวิชาการและนักวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และวัสดุนวัตกรรม
    3. ผู้ประกอบการอิสระ
    4. อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

    จำนวน 4 ภาคการศึกษาในหลักสูตร

    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 140,000.- บาท
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000.- บาท
    วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวัสดุ แผน ก 1  โครงสร้างหลักสูตร      แผนการศึกษา
    วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวัสดุ แผน ก 2  โครงสร้างหลักสูตร      แผนการศึกษา
  •  
Read 3206 times Last modified on วันศุกร์, 09 กุมภาพันธ์ 2561 13:28